วันไห้วคูร

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คนนครสวรรค์

จังหวัดนครสวรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จังหวัดนครสวรรค์
ตราประจำจังหวัดนครสวรรค์ตราผ้าพันคอลูกเสือจังหวัดนครสวรรค์
ตราประจำจังหวัดตราผ้าผูกคอลูกเสือ
เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทยนครสวรรค์
ชื่ออักษรโรมันNakhon Sawan
ชื่อไทยอื่นๆเมืองสี่แคว, ปากน้ำโพ, เมืองพระบาง, เมืองชอนตะวัน
ผู้ว่าราชการนายชัยโรจน์ มีแดง
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2553)
ISO 3166-2TH-60
ต้นไม้ประจำจังหวัดเสลา
ดอกไม้ประจำจังหวัดเสลา
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่9,597.677 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 20)
ประชากร1,073,495 คน[2] (พ.ศ. 2553)
(อันดับที่ 19)
ความหนาแน่น111.78 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 45)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ ถนนสวรรค์วิถี ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์(+66) 0 5622 7001
โทรสาร(+66) 0 5622 0262
เว็บไซต์จังหวัดนครสวรรค์
แผนที่
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดนครสวรรค์

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนล่างของภาคเหนือและตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

Seal Nakhon Sawan.png
สัญลักษณ์ประจําจังหวัด
รูปวิมานอันเป็นที่สิงสถิตของเหล่าเทวดานางฟ้า ความหมายของตราประจำจังหวัด รูปวิมานซึ่งเป็นที่สถิตของชาวสวรรค์ หมายถึง ชื่อครั้งหลังสุดของจังหวัดเป็นเมืองสำคัญในการ รบทัพจับศึกตลอดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย

[แก้] ประวัติศาสตร์

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่านครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจารึกของสุโขทัย โดยเรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคญในการทำศึกสงคราม ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเรียกชื่อว่า เมืองชอนตะวัน และเปลี่ยนเป็น นครสวรรค์ ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า เมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า นครสวรรค์ เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีนที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศ
เมืองพระบางเป็นเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยคู่กับเมืองคนที โดยตัวเมืองพระบางอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เก่า ส่วนเมืองคนทีสันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านโคน ริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จากข้อมูลในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เมืองพระบางถูกผนวกรวมกันเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และถูกผนวกรวมอีกครั้งในสมัยพระยาลิไท พระองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทพร้อมทั้งศิลาจารึกวัดเขากบไว้ที่เขากบ เมืองพระบาง ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยพระมหาธรรมราชาไสลือไทที่ประกาศให้สุโขทัยเป็นเอกราชได้รวมเมืองพระบางไว้ในอาณาเขตด้วย
เมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยากล้าแข็งขึ้น เมืองพระบางจึงไปขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด มีหลักฐานในตำนานมูลศาสนาว่าพระญาณคัมภีร์ขอที่สร้างวัดในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1972 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ไม่อนุญาตจึงมาขอที่ที่เมืองพระบาง เจ้าเมืองพระบางไม่ยกที่ให้ อ้างว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เมื่ออยุธยาไม่ให้ ทางเมืองพระบางก็ให้ไม่ได้[3]

[แก้] ปากน้ำโพ

บ้างเล่าว่าที่เรียกว่า "ปากน้ำโพ" ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำปิง วัง ยม และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า "ปากน้ำโผล่" และเพี้ยนมาเป็น "ปากน้ำโพ" ส่วนอีกตำรากล่าวว่า เป็นปากน้ำของแม่น้ำโพ (คือแม่น้ำน่านในปัจจุบัน) ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง จึงเรียกว่า ปากน้ำโพ ดังเช่น ปากยม ปากชม ปากลัด และปากน้ำอื่น ๆ

[แก้] ภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่เจ้าสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็น การไหลบรรจบของแม่น้ำสี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสี่แคว นอกจากยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆ