จังหวัดนครสวรรค์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- สำหรับนครสวรรค์ ในความหมายอื่น ดูที่ นครสวรรค์ (แก้ความกำกวม)
|
เนื้อหา[ซ่อน] |
[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
สัญลักษณ์ประจําจังหวัดรูปวิมานอันเป็นที่สิงสถิตของเหล่าเทวดานางฟ้า ความหมายของตราประจำจังหวัด รูปวิมานซึ่งเป็นที่สถิตของชาวสวรรค์ หมายถึง ชื่อครั้งหลังสุดของจังหวัดเป็นเมืองสำคัญในการ รบทัพจับศึกตลอดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: เสลา (Lagerstroemia loudonii)
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ
[แก้] ประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่านครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจารึกของสุโขทัย โดยเรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคญในการทำศึกสงคราม ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเรียกชื่อว่า เมืองชอนตะวัน และเปลี่ยนเป็น นครสวรรค์ ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า เมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า นครสวรรค์ เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีนที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศเมืองพระบางเป็นเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยคู่กับเมืองคนที โดยตัวเมืองพระบางอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เก่า ส่วนเมืองคนทีสันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านโคน ริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จากข้อมูลในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เมืองพระบางถูกผนวกรวมกันเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และถูกผนวกรวมอีกครั้งในสมัยพระยาลิไท พระองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทพร้อมทั้งศิลาจารึกวัดเขากบไว้ที่เขากบ เมืองพระบาง ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยพระมหาธรรมราชาไสลือไทที่ประกาศให้สุโขทัยเป็นเอกราชได้รวมเมืองพระบางไว้ในอาณาเขตด้วย
เมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยากล้าแข็งขึ้น เมืองพระบางจึงไปขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด มีหลักฐานในตำนานมูลศาสนาว่าพระญาณคัมภีร์ขอที่สร้างวัดในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1972 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ไม่อนุญาตจึงมาขอที่ที่เมืองพระบาง เจ้าเมืองพระบางไม่ยกที่ให้ อ้างว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เมื่ออยุธยาไม่ให้ ทางเมืองพระบางก็ให้ไม่ได้[3]